ซ่อมบำรุงรักษา ”ตู้ดูดไอสารเคมี” ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Fume hood PM)
ตู้ดูดไอสารเคมี (Fume hood) ในห้องปฏิบัติการมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมีอันตราย โดยการดูดอากาศที่ปนเปื้อนและควบคุมการแพร่กระจายของสารเคมีในระหว่างการทำงาน ตู้ดูดไอสารเคมีที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสและการสูดดมไอสารเคมี เช่น ไอระเหยจากสารตัวทำละลาย (solvent) สารเคมีที่เป็นกรดและเป็นด่างเข้มข้น เช่น กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid), กรดไนตริก (Nitric acid), โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) ซึ่ง ไอระเหยจากสารเหล่านี้สามารถกัดกร่อนทางเดินหายใจหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังและตา
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มีความสำคัญในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าตู้ดูดไอสารเคมีทำงานได้อย่างถูกต้อง มีการไหลเวียนของอากาศที่เหมาะสม และไม่มีการรั่วไหลของอากาศปนเปื้อนเข้าสู่ห้องปฏิบัติการ
เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ โดยมีขั้นตอนการบำรุงรักษาที่สำคัญดังนี้:
1. การตรวจสอบสภาพภายนอกและภายใน (Visual Inspection)
✅ตรวจสอบสภาพตัวเครื่องภายนอกทั่วไป ว่ามีรอยแตก เสียหรือลักษณะที่บ่งชี้ถึงความเสียหายหรือไม่
✅ตรวจสอบพื้นผิวภายในเครื่องว่ามีสิ่งสกปรก ฝุ่น หรือคราบสารเคมีตกค้างภายในตู้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพการดูดลดลง
2. การทำความสะอาด (Cleaning)
✅การทำความสะอาดภายในและภายนอก ตู้ดูดไอสารเคมี ด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวภายใน เพื่อลดการสะสมของสารเคมีและสิ่งสกปรก3. การตรวจวัดและตรวจสอบการไหลเวียนของอากาศ (Face Velocity)
✅ใช้อุปกรณ์วัดความเร็วลม: ตรวจวัดอัตราการไหลของอากาศภายในตู้ดูดไอสารเคมี โดยใช้อุปกรณ์เช่น เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ที่ได้ผ่านการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน
✅เปรียบเทียบค่าความเร็วลมที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน: ตรวจสอบว่าอัตราการไหลอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ปกติค่า Face Velocity จะอยู่ที่เกณฑ์การวัดที่ค่า100 fpm (+20) หากต่ำกว่ามาตรฐาน ควรปรับปรุงหรือแก้ไขระบบระบายอากาศ
3. การตรวจวัดและตรวจสอบการไหลเวียนของอากาศ (Face Velocity)
✅ใช้อุปกรณ์วัดความเร็วลม: ตรวจวัดอัตราการไหลของอากาศภายในตู้ดูดไอสารเคมี โดยใช้อุปกรณ์เช่น เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ที่ได้ผ่านการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน
✅เปรียบเทียบค่าความเร็วลมที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน: ตรวจสอบว่าอัตราการไหลอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ปกติค่า Face Velocity จะอยู่ที่เกณฑ์การวัดที่ค่า100 fpm (+20) หากต่ำกว่ามาตรฐาน ควรปรับปรุงหรือแก้ไขระบบระบายอากาศ
4. การตรวจสอบระบบแสงสว่างภายในตู้
✅ตรวจสอบความสว่างหลอดไฟ ว่าแสงสว่างไม่มืดสลัว ไม่มีการกระพริบ หากค่าแสงที่วัดไม่ได้ตามมาตรฐาน ควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่
✅ตรวจสอบความสะอาดของหลอดไฟและฝาครอบ ไม่ให้มีสิ่งสกปรก หรือฝุ่น ที่อาจลดประสิทธิภาพของแสงสว่าง
✅ตรวจสอบระบบไฟฟ้า สายไฟและการเชื่อมต่อว่าไม่มีการชำรุดเสียหาย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
5. การตรวจสอบระบบน้ำและระบบแก๊ส หากมี
✅การตรวจสอบระบบน้ำ ตรวจเช็คการรั่วซึมของระบบน้ำทิ้ง ท่อ วาล์ว และข้อต่อว่ามีการรั่วซึมหรือไม่, ทดสอบการเปิด-ปิดวาล์วว่ายังทำงานได้ปกติและไม่ติดขัด, ตรวจสอบแรงดันน้ำและการไหลของน้ำว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่, ทำความสะอาดหัวจ่ายน้ำและท่อจากคราบสกปรกหรือการอุดตัน
✅การตรวจเช็คระบบจ่ายแก๊สในตู้ดูดไอสารเคมี ควรตรวจสอบสภาพท่อ วาล์ว และข้อต่อว่าไม่มีรอยรั่วหรือชำรุด จากและทำการตรวจเช็ค การรั่วไหลของแก๊สด้วยน้ำสบู่หรือสารตรวจจับการรั่ว และตรวจสอบแรงดันแก๊สให้ตรงตามค่ามาตรฐานและทดสอบวาล์วความปลอดภัย การทำความสะอาดและตรวจสอบตัวกรองแก๊สถ้ามี
6. การตรวจสอบระบบการทำงานของบานกระจกเลื่อน(Sash)
✅การเปิด-ปิด หน้าบานเลื่อน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า หน้าต่างหรือบานกระจกของ (Sash Fume Hood) ทำงานได้อย่างราบรื่น ไม่มีการติดขัด บานไม่เอียง หรือบานกระจกไม่มีรอยร้าว เสียหาย
✅ระดับการเปิดของหน้าบานที่เหมาะสม: ตรวจสอบว่าตำแหน่งการเปิดหน้าบานตู้ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งปกติมีระดับความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร (12 นิ้ว) จากขอบล่างของตู้ดูดไอสารเคมีซึ่งเป็นระดับที่ช่วยให้เกิดการไหลของอากาศที่เหมาะสมที่สุดและป้องกันไม่ให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกมาสู่ภายนอก
7. การตรวจสอบระบบท่อระบายอากาศและพัดลม (Ventilation and Fan System)
✅ตรวจสอบการทำงานของพัดลมว่าพัดลมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีเสียงดังหรือไม่สั่นสะเทือนผิดปกติและตรวจสอบความแน่นหนาของน็อตยึด
✅ตรวจสอบมอเตอร์ ว่ารอบการทำงานมอเตอร์ปกติ การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยประหยัดไฟฟ้าได้
✅ตรวจสอบระบบท่อระบายอากาศ: ตรวจสอบว่าท่อระบายไม่มีการอุดตันหรือรั่วไหล ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดูดอากาศออกไปภายนอก
8. การบำรุงรักษาระบบควบคุม และอุปกรณ์วัดลม (Control Systems )
✅ตรวจสอบระบบหรือแผงควบคุมการทำงานของ Fume Hood เช่น ระบบแจ้งเตือนหรือระบบควบคุมอัตโนมัติทำงานได้ถูกต้อง
✅การสอบเทียบอุปกรณ์วัด: ตรวจสอบและการสอบเทียบเครื่องมือวัดทุกปี เช่น Airflow Monitor หรือ Anemometer เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ
9. การตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบกำจัดหรือบำบัดอากาศ(Dry&Wet Scrubber Maintenance)หากมี
✅หากมีการติดตั้งระบบกรองแบบน้ำ(Wet Scrubber)ควรทำการตรวจเช็คการทำงานของปั้มน้ำ, วาล์ว น้ำดี-น้ำทิ้ง, หัวฉีดสเปรย์, ท่อยางและจุดต่อต่างๆของระบบน้ำ ควรตรวจสอบระดับน้ำและปริมาณสารเคมีในถังให้เหมาะสม และทำความสะอาดลูกมีเดีย(Media Pack)และ Mist Separatorทั้งสองส่วนนี้ทำหน้าที่ดักจับสารปนเปื้อนและอนุภาคขนาดเล็กจากไอระเหยที่ถูกกำจัด
✅หากมีการติดตั้งระบบกรองแบบไส้กรอง (Dry scrubber)ตรวจสอบสภาพของไส้กรอง เช่น Pre Filter, Activated Carbon: ตรวจสอบว่าไส้กรองมีสิ่งสกปรกหรือเสื่อมสภาพหรือไม่ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่ถ้าเป็นระบบที่สามารถทำความสะอาดได้ให้ทำการล้างหรือเปลี่ยนไส้กรองทันทีเมื่อพบว่ามีการสะสมของฝุ่นหรือสารเคมี
10. การบันทึกและวางแผนการบำรุงรักษา (Documentation and Scheduled Maintenance)
✅บันทึกการตรวจสอบ: จัดทำบันทึกการตรวจสอบและมีรายงานผลการตรวจเช็ค ในกาบำรุงรักษาทุกครั้งเพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลการดูแลรักษาในระยะยาว
✅กำหนดตารางการบำรุงรักษา: วางแผนและกำหนดตารางการบำรุงรักษา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามคำแนะนำของผู้ผลิตและมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตการบำรุงรักษาตู้ดูดไอสารเคมี ตามขั้นตอนข้างต้นไม่เพียงช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการอีกด้วย

